277 จำนวนผู้เข้าชม |
อยู่ในช่วงของกลางเดือนรอมฏอนแล้วสำหรับพี่น้องมุสลิม ช่วงนี้เรามักจะเห็นคนรอบตัวๆเราทั้งญาติสนิท คนใกล้ชิด เพื่อร่วมงานหรือแม้กระทั้งเพื่อนๆใน FACEBOOK บ่นกันเรื่องน้ำหนักลงบ้างน้ำหนักขึ้นบ้าง ถามว่าการถือศีลอดส่งผลเสียต่อสุขภาพเราไหม? บอกเลยว่าไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพแต่อย่างใด การถือศีลอดอย่างถูกวิธี จะทำให้เราลดน้ำหนักได้ แต่กลับกันหลายคนอ้วนขึ้น เพราะกินเยอะเกินไปในช่วงละศีลอดตอนกลางคืน ทั้งนี้ตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่เราถือศีลอดนี้ เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเราบ้าง?
- 2-3 วันแรก คือ ช่วงที่ยากลำบากที่สุด เพราะเป็นช่วงเริ่มแรกที่เราเริ่มถือศีลอด การอดอาหาร 8 ชั่วโมงหลังที่เรากินอาหารมื้อสุดท้ายคือซาโฮร์นั้น ลำไส้เราจะทำหน้าที่ในการดูดสารอาหารต่างๆ ร่างกายจะเปลี่ยนกลูโคสมาให้พลัง และเมื่อกลูโคสหมด ไขมันก็จะกลายเป็นแหล่งพลังงานสำหรับร่างกายแทน
- วันที่ 3-7ระวังเรื่องการขาดน้ำ เมื่อเข้าสู่ช่วงที่ 2 ร่างกายของเราเริ่มชินกับการอดอาหาร ไขมันจะถูกนำมาแปลงเป็นน้ำตาลในเลือด การที่เราไม่ได้รับของเหลวเข้าสู่ร่างกายในช่วงถือศีลอดก็ต้องชดเชยในช่วงหลังจากเลิกถือศีลอดในแต่ละวัน ไม่เช่นนั้น
ก็อาจทำให้เกิดอาการขาดน้ำได้ อาหารที่เรารับประทานก็ควรจะมี 'อาหารที่ให้พลังงาน' ในระดับที่เหมาะสม อย่างเช่น คาร์โบไฮเดรต และไขมันบางอย่าง
- วันที่ 8-15 เริ่มชิน ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงที่ 3 นี้ เราจะเห็นถึงพัฒนาการทางอารมณ์ ในช่วงที่ร่างกายปรับตัวกับการอดอาหารได้อย่างสมบูรณ์แล้ว โดยดร. ราซีน มาห์รูฟ ที่ปรึกษาในหน่วยผู้ป่วยหนักและยาชา ที่โรงพยาบาลแอดเดินบรูกส์ ในเมืองเคมบริดจ์ กล่าวว่า มีข้อดีหลายอย่างจากการ อดอาหารเช่นกัน "ในชีวิตประจำวัน เรามักกินมากเกินไป และอาจส่งผลให้ร่างกายไม่ได้ทำหน้าที่อื่นเท่าที่ควร เช่น การซ่อมแซมตัวเอง" "การปรับสภาพของร่างกายจะเกิดขึ้นในช่วงถือศีลอด ทำให้ร่ายกายได้หันไปทำหน้าที่อื่น ๆ" ดังนั้น การถือศีลอดอาจจะเป็นผลดีต่อร่ายกาย ด้วยการทำให้เกิดการซ่อมแซม และยังช่วยป้องกันและต้านทานการติดเชื้อด้วย
- วันที่ 16-30 ถอนพิษ สำหรับช่วงนี้ร่างกายของเราจะปรับตัวเข้ากับกระบวนการอดอาหารได้สมบูรณ์แบบแล้ว ลำไส้ใหญ่, ตับ, ไต และผิวหนัง จะเข้าสู่ช่วงของการถอนพิษ การทำงานของอวัยวะต่างๆ น่าจะกลับไปสู่ระดับเต็มศักยภาพอีกครั้ง ความจำและสมาธิอาจจะดีขึ้น มีเรี่ยวแรงเพิ่มขึ้นที่มา.....อาห์เมน คาวาจา บีบีซี เวิลด์เซอร์วิส
บทความ นูรุมา จูและ
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(Business Incubator for Halal Products and Services: BIHAPS)