กฏเกณฑ์การบริโภคโปรตีนสกัดจากกัญชง (hemp)

263 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กฏเกณฑ์การบริโภคโปรตีนสกัดจากกัญชง (hemp)

กฏเกณฑ์การบริโภคโปรตีนสกัดจากกัญชง (hemp)
ข้าพเจ้าขอถามเกี่ยวกับโปรตีนที่ผลิตจากต้นกัญชง (hemp) ซึ่งหาซื้อได้ในร้านขายเครื่องกีฬาในประเทศอังกฤษ จุดประสงค์ของการบริโภคโปรตีนชนิดก็เพื่อเป็นแหล่งพลังงานตามธรรมชาติจะเป็นที่อนุมัติหรือไม่โดยที่สารนี้ไม่มี THC (สารที่ทำให้มึนเมา)

มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺในสารานุกรม อัลเมาสูอะฮฺ อัลอะเราะบิยะฮ์ อัลอะลามิย์ยะฮฺ กล่าวไว้ว่า กัญชง (Hemp) (บางครั้งเรียกกันในชื้อแคนนาบิส-cannabis) เป็นพืชที่ปลูกเพื่อนำเส้นใยที่แข็งแรงของมัน เพื่อนำมาแ.ปรรูปทำเป็นเส้นด้ายและเชือกหลากหลายชนิด การปลูกกัญชงเป็นสิ่งผิดกฏหมายในหลายประเทศ ซึ่งอาจมีสารอาจมีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ที่รู้จักกันในชื่อกัญชา

กัญชงมีผลกระทบต่อร่างกาย ดังนั้นนักนิติศาสตร์ในอดีตและปัจจุบันจึงห้ามมิให้บริโภคมัน รวมทั้งกฏหมายของหลายประเทศทั่วโลกสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทในแคนนาบิสที่มีผลต่อสมองและระบบประสาทตามที่ผู้ถามได้อ้างถึงนั้นมีอักษรย่อ คือ THC ซึ่งหมายถึง tetrahydrocannabinol เป็นที่ทราบกันดีว่าสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทนี้ไม่ได้มีที่อื่น ๆ แต่จะมีมากในใบเพศผู้หรือช่อดอกและไม่มีอยู่ในเมล็ด
มุฮัมมัด ฟัตฮิอีดซึ่งเป็นแพทย์ทหารกล่าวว่า ต้นกัญชงเป็นพืชที่ถูกห้ามมิให้ปลูกตามกฏหมายระหว่างประเทศของอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ.1961 (the Single Convention on Narcotic Drugs of 1961) ซึ่งอนุสัญญานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพิธีสารฯค.ศ.1972 แต่ได้รับการยกเว้นในจำนวนที่เล็กน้อยแก่ประเทศที่ลงนามในอนุสัญญาทั้งนี้เพื่อใช้ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษกล่าวว่า “แคนนาบิส” หมายถึงช่อดอกหรือผลของกัญชง (ไม่รวมเมล็ดและใบเมื่อไม่ได้ติดกับยอด) ซึ่งยังไม่ได้สกัดเรซิ่นออกมาไม่ว่าจะเรียกด้วยชื่อใดก็ตาม อนุสัญญาระบุว่านิยามนี้ไม่รวมใบที่อยู่ใต้ช่อดอกและเมล็ด จากที่กล่าวมา หากโปรตีนได้มาจากกัญชงสกัดมาจากหนึ่งในสองสิ่งคือใบและเมล็ด ซึ่งไม่มี THC แล้วไม่มีความผิดอะไรหากจะบริโภค (หะลาล) ตราบเท่าที่มันไม่ได้ส่งผลเสียต่อร่างกายและไม่มีสิ่งที่เรียกว่าสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท นี่คือกฏทั่วไปที่สามารถนำไปใช้กับทุกสิ่งที่มีอยู่ในท้องตลาดไม่ว่าจะเป็นสารตามธรรมชาติหรือผลิตสังเคราะห์ออกมาที่อ้างว่าเป็นประโยชน์กับร่างกายและให้พลังงานแก่นักกีฬา

อัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่ง

………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ที่มา: Islamqa.info

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้