267 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นภาวะเรื้อรังที่ร่างกายสามารถทนทานอินซูลิน หรือไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ ส่งผลต่อการนำน้ำตาลจากอาหารเข้าเซลล์เพื่อไปใช้เป็นพลังงาน ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคเบาหวานประเภทนี้ทั่วโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 108 ล้านคนในปี 1980 เป็น 422 ล้านคนในปี 2014
.
เนื่องจากการจัดการสภาวะนี้ขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหารที่ถูกต้องในช่วงเวลาที่แน่นอน รอมฎอนจึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นความท้าทายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตามลักษณะของเงื่อนไขในการถือศีลอดเปิดกว้างให้ผู้ที่มีอาการป่วยดังกล่าวสามารถได้รับการยกเว้นจากการถือศีลอดเนื่องจากความเสี่ยงต่อสุขภาพโดยทั่วไป
.
“โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! การถือศีลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้วเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง (คือถูกกำหนดให้ถือ)ในบรรดาวันที่ถูกนับไว้แล้วผู้ใดในพวกเจ้าป่วยหรืออยู่ในการเดินทางก็ให้ถือใช้ในวันอื่น และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่ง(โดยที่เขาได้งดเว้นการถือ)นั้น คือการชดเชยอันได้แก่การให้อาหาร(มื้อหนึ่ง)แก่คนยากจนคนหนึ่ (ต่อการงดเว้นจาการถือหนึ่งวัน) แต่ผู้กระทำความดีโดยสมัครใจมันก็เป็นความดีแก่เขา และการที่พวกเจ้าจะถือศีลอดนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่าสำหรับพวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้” (อัลกุรอาน 2 : 183-184)
.
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวนมากกลับเลือกที่จะถือศีลอดซึ่งอาจจะมีผลกระทบที่เป็นอันตรายได้หากระดับน้ำตาลในเลือดของพวกเขาลดลงต่ำเกินไปในช่วงที่อดอาหาร(สภาวะนี้เรียกว่าสภาวะ hypoglycemia) หรือน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นสูงเกินไปหลังจากที่เริ่มรับประทานอาหาร(สภาวะ hyperglycemia) หากไม่ได้ทำการรักษาด้วยยาอย่างถูกต้อง
.
ในปี 2016 เภสัชกร Ehab Mikhael จากมหาวิทยาลัยแบกแดดแห่งอิหร่าน ได้เผยแพร่ผลการศึกษาซึ่งเขาได้ทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของตัวยาใหม่ ๆ สำหรับผู้อดอาหารในรอมฎอนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
.
การศึกษาทดสอบประสิทธิภาพของยาบางชนิดในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยไม่ก่อให้เกิดภาวะ hypoglycemia การรักษาด้วยวิธีนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เลือกที่จะอดอาหารในช่วงรอมฎอน
.
ยาชนิดใหม่ ๆ เหล่านี้ทำงานโดยการยับยั้งการสลายตัวของกลูโคส (ในทางตรงกันข้ามกับการหลั่งอินซูลินเช่นเดียวกับยาอื่น ๆ ) และส่งผลให้ลดความเสี่ยงในการเข้าสู่สภาวะ hypoglycemia ได้ตามที่ผู้ที่อดอาหารเคยประสบจากการขาดสารอาหารในช่วงเวลาที่อดอาหาร
.
นอกจากนี้ การรักษารูปแบบใหม่เหล่านี้มีผลข้างเคียงน้อยมากกับความรู้สึกผิดปกติของกระเพาะอาหารและความกระหายที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับยาตัวอื่น ๆ ที่เคยใช้ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2
.
นักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งในสหราชอาณาจักรกำลังพยายามที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยาที่ใช้ในการรักษาเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อให้สามารถอดอาหารได้อย่างปลอดภัยในช่วงรอมฎอน
แม้ว่าข้อมูลจะไม่ได้รับการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการทำงานของยาดังกล่าว แต่นักวิจัยกำลังค้นคว้าเพื่อยืนยันว่าตัวยานี้มีประสิทธิภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ว่าผู้ใช้จะอดอาหารหรือไม่ก็ตาม
.
พวกเขาจะทำเช่นนี้โดยการตรวจสอบการจัดการระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เข้าร่วมการทดสอบทั้งในช่วงรอมฎอน รวมทั้งก่อนและหลังรอมฎอนในช่วงที่พวกเขาไม่ได้อดอาหาร นี่เป็นโอกาสที่ดีในการประเมินประสิทธิผลของยาที่ใช้ทดสอบ
.
การวิจัยนี้นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะในปัจจุบันนี้เนื่องจากการถือศีลอดมีช่วงเวลาที่ยาวที่สุดอยู่ในพื้นที่แถบซีกโลกเหนือ
.
"ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะช่วยให้คำแนะนำในการจัดการผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องการถือศีลอดในช่วงรอมฎอนแต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ ซึ่งเป็นเหตุผลที่เรากำลังทำการศึกษาวิจัยในเรื่องเหล่านี้" Melanie Davies ศาสตราจารย์จากหน่วยวิจัยชีวการแพทย์สถาบันโภชนาการแห่งเมืองลัฟบะระมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ กล่าวแก่ วารสาร The Diabetes Times
.
ทีมงานจะยังทำการตรวจสอบอีกว่าการออกกำลังกายร่วมกับการถือศีลอดเป็นเวลานานส่งผลอย่างไรบ้างต่อผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
.
ผลของการศึกษาเหล่านี้ถือเป็นแนวทางใหม่ที่จะช่วยให้มุสลิมที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานสามารถถือศีลอดได้ในอนาคต
……………………..
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ.สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจาก aboutislam.net by Hannah Morris